วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัด บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัด
บทที่4 การรู้สารสนเทศ     กลุ่มที่1
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026008
ชื่อ นายเมืองชัย วนชัยสงค์  รหัส 57010115044
คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.) ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อล่ะ 3 ชนิดแล้วแลกกันตรวจสอบกับเพื่อน

1.1 การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
      =  CD  ,  DVD ,   Floppy Disk

1.2 การแสดงผล
      = Projector , Monitor , Plottor 

1.3 การประมวลผล
      = เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้ง ฮาร์ตเเวร์และซอร์ฟแวร์

1.4 การสื่อสารเเละเครือข่าย
      = วิทยุ , โทรเลข , โทรศัพท์

2.) ให้นิสิตนำตัวเลข มาเติมข้อคำถามในด้านล่างที่มีความสัมพันธ์กัน

คำตอบ
1. ส่วนใหญใช้ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล
2. e-Revenue
3. เทคโนโลยีต่างๆที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ ความรวดเร็วต่อการนำไปใช้งาน
4. มีองค์ประกอบพื้นฐาน3ส่วนได้แก่ Sender Medium และ Decoder
5. การใช้งานสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
8.โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
9. CAI
10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำถาม
= 8  ซอฟต์แวร์ประยุกต์
= 3  Information Technology 
= 1  คอมพิวเตอร์ในยุกต์ประมวลผลข้อมูล
= 4  เทคโนโลยีประกอบด้วย 
= 10  ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
= 7  ซอฟต์แวร์ระบบ
= 9  การนำเสนอบทเรียนในรูปแบบมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
= 5  EDI
= 6  การสื่อสารโทรคมนาคม
= 2  บริการชำระภาษีออนไลน์

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ

แบบฝึกหัด

บทที่3 การรู้สารสนเทศ
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 0026008
ชื่อ นายเมืองชัย วนชัยสงค์  
รหัส 57010115044  กลุ่ม 1



คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด


1.ข้อใดคือความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ

*ง.ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้สารสนเทศ

2.จากกระบวนการสารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการใดสำคัญที่สุด

*ง.ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

3.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ

*ค.ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม

4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ

*ค.สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง

5.ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง

    1.ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
    2.ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
    3.ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
    4.ความสามรถในการค้นหาสารสนเทศ
    5.ความสามรถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
*ค.5-4-1-2-3

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ทักษะเบื้องต้นในการเล่นฟุตบอล

ทักษะเบื้องต้นในการเล่นฟุตบอล
แนวคิด
การเล่นกีฬาฟุตบอลให้เกิดประสิทธิภาพผู้เล่นต้องเรียนรู้จนเกิดทักษะพื้นฐานหลายด้านอาทิการเคลื่อนไหวเบื้องต้นการทำความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอลการหยุดหรือบังคับลูกทักษะเหล่านี้มี
ความละเอียดอ่อนและเป็นพื้นฐานสำหรับเทคนิคการเล่นอื่นๆต่อไปซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนจนชำนาญและเป็นทักษะที่ต้องการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การทรงตัว
การทรงตัวเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่มีความสำคัญในการฝึกกีฬาทุกชนิดเพื่อการเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวสามารถทำให้การเล่นกีฬาเป็นไปอย่างต่อเนื่องสนุกสนานเร้าใจท่าทางการทรงตัว
ที่ผู้เล่นฟุตบอลควรฝึกหัดมีดังนี้
1.ทำการทรงตัวและจังหวะการใช้เท้าทั้งบนพื้นดินและในอากาศ
2.การถ่ายน้ำหนักตัวไปสู่เท้าหลักเมื่อมีการครอบครองลูกเตะลูกหรือเลี้ยงลูกฟุตบอล
3.การวิ่งตามแบบของฟุตบอลเช่นวิ่งไปที่มุมสนามวิ่งหาช่องว่างวิ่งตัดกันเพื่อหลอกคู่ต่อสู้
4. การวิ่งซิกแซ็ก เพื่อการหลบหลีกเมื่อเลี้ยงหรือครอบครองลูก
                                                 (จังหวะการทรงตัวในการเลี้ยงบอลและหลบหลีกคู่ต่อสู้)
การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถอยหลัง ไปทางซ้าย ไปทางขวา
มีวิธีการฝึกดังนี้
1.ทิ้งน้ำหนักตัวไปสู่ทิศทางที่จะเคลื่อนที่ไปตาจับอยู่ที่ลูกบอล
2. เคลื่อนเท้าที่อยู่ในทิศทางที่จะเคลื่อนไป นำไปก่อน แล้วจึงเคลื่อนเท้าอีกข้างหนึ่งตามไปโดยเร็ว เช่น ไปทางซ้ายให้ก้าวเท้าซ้ายนำไปก่อนแล้วก้าวเท้าขวาตามไป
3. การใช้ปลายเท้าสัมผัสพื้น ช่วยให้การเคลื่อนไหวรวดเร็วขึ้น
การสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล
พื้นฐานของการเล่นฟุตบอลที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์หรือความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอลเป็นอย่างดีกล่าวคือการเล่นลูกฟุตบอลต้องสามารถทำได้อย่างที่ตั้งใจไว้ทุกประการไม่ว่าจะเป็นการเล่นลูกแบบใดก็ตามการที่ผู้เล่นคุ้นเคยกับลูกฟุตบอลจะส่งผลให้การครอบครองบอลการเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ การควบคุมบังคับทิศทางของลูกฟุตบอลเป็นไปด้วยความแม่นยำดังนั้นจึงควรให้ผู้เล่นฝึกความคุ้นเคยให้ชินกับลูกฟุตบอลมากที่สุด
วิธีการสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล
1.วางเท้าบนลูกฟุตบอลแล้วคลึงด้วยฝ่าเท้าไปมาหน้า หลัง ซ้าย ขวา โดยให้อยู่กับที่ ให้ทำทั้งเท้าซ้าย-ขวา
2.ทำเหมือนข้อที่1แต่ให้เคลื่อนที่ไปตามทิศทางต่างๆด้วย
3.ใช้ฝ่าเท้าตบลูกฟุตบอลให้กระดอนขึ้น-ลงโดยใช้เท้าซ้ายหรือขวาสลับกัน
4.วางเท้าด้านในติดกับข้างลูกฟุตบอลใช้ข้างเท้าด้านในปาดเหนือลูกมาอีกด้านหนึ่งของลูกตอนนี้ลูกฟุตบอลจะอยู่ข้างเท้าด้านนอกแล้วใช้เท้าด้านนอกปาดลูกกลับไปอีกด้านตามเดิมแล้วให้ฝึกสลับเท้าด้วย
5.งัดลูกฟุตบอลด้วยปลายเท้าให้ลูกลอยขึ้นในอากาศหยุดลูกด้วยหลังเท้าหรือฝ่าเท้า
6.งัดลูกฟุตบอลด้วยปลายเท้าให้ลูกลอยขึ้นในอากาศแล้วเดาะลูกด้วยเท้าเข่าหน้าอกศีรษะสลับกัน
7. ทำเหมือนข้อ 6 แต่เคลื่อนที่เป็นระยะทางไกล โดยลูกฟุตบอลไม่ตกถึงพื้น
การหยุดหรือบังคับลูกฟุตบอล
การหยุดลูกได้ดีนั้นทำให้สามารถที่จะบังคับและควบคุมลูกฟุตบอลให้เคลื่อนที่ไปในลักษณะใดก็ได้ตามต้องการเช่นการเลี้ยงการส่งลูกการยิงประตูทำให้ทีมเป็นฝ่ายรุกเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม
เราสามารถหยุดลูกฟุตบอลด้วยส่วนใดของร่างกายก็ได้ ยกเว้นแขนและมือทั้งสองข้างคำจำกัดความ
การหยุดลูก หมายถึงการบังคับลูกที่มาในลักษณะต่างๆทั้งบนพื้นดินและในอากาศให้อยู่ในครอบครองของเราเพื่อจะได้ส่งลูกต่อไปตามความต้องการ
หลักในการหยุดลูกมีอยู่3ประการคือ
1.จะใช้ส่วนใดของร่างกายในการหยุดลูก
2.การเคลื่อนตัวเข้าสู่ตำแหน่งเพื่อหยุดลูกที่ลอยมาหรือกลิ้งมากับพื้น
3. ใช้เทคนิคการผ่อนของร่างกาย เพื่อลดแรงปะทะของลูก
การหยุดลูกด้วยฝ่าเท้า ให้พยายามหยุดลูกฟุตบอลเบาๆการใช้ฝ่าเท้าหยุดลูกให้หยุดลูกที่ส่งเรียดมากับพื้น โดยเปิดปลายเท้าขึ้นปะทะลูกไว้ในครอบครองและให้ฝ่าเท้าสัมผัสส่วนบนของลูกพร้อมที่จะเคลื่อนที่ต่อไป

การหยุดลูกด้วยข้างเท้าด้านใน วิธีนี้สามารถใช้หยุดลูกที่ส่งเรียดหรือต่ำ
1.ใช้ในการควบคุมลูกฟุตบอลให้ตกลงสู่พื้นอย่างประณีตในขณะที่เคลื่อนไปข้างหน้า
2.วางมุมเท้าเพื่อหยุดลูกโดยการบิดลำตัวทางด้านข้างตามแนวที่ลูกลอยมาใช้ข้างเท้าด้านในสัมผัสตรงกลางลูกเพื่อผ่อนแรงปะทะ
3.การหยุดลูกใช้องค์ประกอบ3อย่างคือข้างเท้าด้านในข้อเท้าและพื้นสนาม
4. คาดคะเนจังหวะลูกฟุตบอลกระทบกับเท้าและพื้นดินพร้อม ๆ กัน เพื่อการหยุดลูกไว้อย่างมั่นคง

การหยุดลูกด้วยหลังเท้าวิธีนี้ใช้หยุดลูกฟุตบอลที่ลอยมาให้งอเข่าและยกเท้าขึ้นเพื่อรับลูกที่กำลังจะตกพื้นให้ลดขาและเท้าเพื่อผ่อนแรงปะทะ ตาจ้องมองดูลูก ใช้ขาข้างใดข้างหนึ่งเป็นหลักและทรงตัวให้มั่นคง

การหยุดลูกด้วยหน้าขา
ใช้ในกรณีที่ลูกลอยมาสูงกว่าระดับเอวใช้หน้าขาหยุดลูกไว้โดยให้งอเข่ารับผ่อนแรงโดยลดต้นขาลงแล้วปล่อยลูกตกลงพื้นอยู่กับเท้าเพื่อครอบครองบอลโดยใช้แขนทั้งสองข้างและขาที่ยืนเป็นหลัก
ช่วยในการทรงตัว
การหยุดลูกด้วยหน้าอก
วิธีนี้ใช้รับลูกที่ลอยมาให้แยกแขนทั้งสองออกยืดอกรับลูกแล้วปล่อยลูกลงพื้นอยู่กับเท้าโดยการยืนแยกขาออกเล็กน้อยเพื่อการทรงตัวขณะที่ลูกปะทะกับหน้าอกให้ย่อตัวและไหล่ทั้งสองข้าง
เพื่อลดแรงปะทะ

การหยุดลูกด้วยศีรษะ
ในกรณีที่ลูกฟุตบอลลอยมาสูงเกินกว่าที่จะรับด้วยหน้าอกให้ใช้น้าผากรับแทนโดยยื่นศีรษะออกไปเพื่อรับลูก เมื่อรับแล้วให้ดึงศีรษะกลับ แล้วปล่อยให้ลูกลงพื้นอยู่กับเท้า

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล
มารยาทของนักกีฬาที่ควรปฏิบัติ
การเล่นฟุตบอลก็เหมือนกับการเล่นกีฬาประเภทอื่นๆที่ผู้เล่นจำเป็นต้องมีมารยาทในการเล่นเพื่อให้การเล่นดำเนินไปด้วยดีนอกจากนี้ผู้ดูก็ควรมีมารยาทในการดูเช่นเดียวกันจึงจะทำให้เกิดผลดีต่อการกีฬาอย่างสมบูรณ์
มารยาทของผู้เล่นฟุตบอลที่ดี
1.มีความรักและความสามัคคีในหมู่คณะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกัน
2.มีน้ำใจนักกีฬาแสดงการขอโทษเมื่อรู้ว่าตนเองกระทำผิดรู้จักให้อภัยเมื่อเพื่อนผิดพลาดรู้จักแพ้เมื่อตนเองมีความสามารถและฝีมือไม่มากนัก
3.มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนตามที่ได้รับมอบหมาย
4.ปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่นโดยเคร่งครัด
5. เชื่อฟังการตัดสินของผู้ตัดสิน โดยไม่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้ตัดสินในการตัดสินไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการยั่วยุหรือกลั่นแกล้งผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
6.มีความอดทนเสียสละ
7.กล้าตัดสินใจแสดงความคิดเห็นและแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง
8. มีความสุภาพเรียบร้อยปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบประเพณีที่ดีงาม

                                                       (น้ำใจนักกีฬาเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมี)
มารยาทของผู้ชมที่ดี
1.ไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด
2.แสดงความยินดีแก่ผู้เล่นที่เล่นดีเช่นการปรบมือเป็นต้น
3.ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเองเช่นตะโกนด่าว่ากรรมการ
4.ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการส่อเสียดในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง
5.ไม่กระทำสิ่งใดๆที่ทำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆปฏิบัติงานไม่สะดวก
6. ไม่กระทำสิ่งใดๆ อันเป็นการกีดขวางการเล่นของผู้เล่น
การบำรุงรักษาอุปกรณ์
อุปกรณ์แยกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.อุปกรณ์ของนักกีฬาฟุตบอลได้แก่
1.1รองเท้า ต้องเลือกที่ใส่สบายมีความยืดหยุ่นดีหลังใช้ให้ทำความสะอาดทุกครั้งขัดเงาและใช้หนังสือพิมพ์หรือนุ่นยัดไว้เพื่อให้รองเท้าอยู่ทรงสภาพเดิม
1.2สนับแข้ง ป้องกันการกระแทกไม่ให้ถูกของมีคมหรือเป็นแผลถลอก
1.3เสื้อให้ใช้ผ้าที่วับเหงื่อได้ดีผู้รักษาประตูควรสวมเสื้อแขนยาวป้องกันการเกิดแผลถลอกเวลาล้มหรือพุ่งตัวตัวรับลูกฟุตบอล
1.4กางเกง ควรใช้ผ้าที่ทำจากฝ้ายและสวมใส่สบายเคลื่อนไหวได้อิสระ
1.5ถุงมือสำหรับผู้รักษาประตู ป้องกันการลื่นในสภาพสนามแฉะและมีโคลนหลังใช้ต้องทำความสะอาดและผึ่งให้แห้งในที่ร่ม
2.อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นฟุตบอล
2.1 ลูกฟุตบอล ต้องได้รับการยอมรับจาก F.I.F.A. มีน้ำหนักได้มาตรฐาน 396-453 กรัม หากเปียกน้ำ เปื้อนโคลนต้องทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง
2.2ตาข่ายประตู ต้องไม่ขาดหรือมีช่องโหว่ติดตั้งอย่างมั่นคงใช้แล้วให้เก็บในที่ห่างจากความร้อนและความชื้น
2.3 ป้ายคะแนน และเลขคะแนน ระวังไม่ให้เปียกน้ำ เพื่อป้องกันการผุ เก็บในที่ห่างจากความชื้น เช่นในที่ร่ม หรือห้องเก็บของ
2.4เสาประตูต้องหมั่นตรวจสอบเวลาฝึกซ้อมหรือแข่งขันต้องอยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง
2.5เข็มปล่อยลมลูกบอล ต้องจัดเตรียมไว้เมื่อเติมลมลูกฟุตบอลมากเกินไปหรือไม่ได้มาตรฐาน
2.6 ธงมุมสนาม ปักไว้ที่มุมสนาม ใช้แล้วนำมาเก็บให้เรียบร้อย และนำไปปักเมื่อต้องการใช้การบำรุงรักษาสุขภาพ
กฎ กติกา ฟุตบอล
                                                   (สนามฟุตบอลและขนาดมาตรฐาน)
กติกาฟุตบอล (อังกฤษ: The Laws of the Game)เป็นกฎและกติกาฟุตบอลสากลที่กำหนดโดยสมาคมฟุตบอล ในปัจจุบันมีทั้งหมด 17 ข้อ ดูแลโดยหน่วยงานไอเอฟเอบี
  • กฎข้อที่ 1: สนามฟุตบอล เป็นสนามหญ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 100 หลา ยาว 130 หลา และทำเส้นต่างๆ ในสนามเป็นสีขาวมีลักษณะตามภาพ
  • กฎข้อที่ 2: ลูกฟุตบอล เป็นทรงกลม ทำจากหนัง หรือวัสดุอื่นๆ ตามความเหมาะสมที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น เป็นฟุตบอลเบอร์ 5 มีเส้นรอบวงประมาณ 68-70 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 410-450 กรัม
  • กฎข้อที่ 3: จำนวนผู้เล่นประกอบด้วยทีม 2 ทีม และแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นตัวจริงและตัวสำรอง ผู้เล่นตัวจริงจะเป็นผู้เล่นชุดแรกที่ลงสนาม ส่วนผู้เล่นตัวสำรองมีไว้เพื่อสับเปลี่ยนกับผู้เล่นตัวจริงในกรณีที่ผู้เล่น ตัวจริงไม่สามารถเล่นได้หรือกรณีอื่นๆ ตามความเหมาะสมหรือตามแต่ดุลยพินิจของผู้จัดการทีม ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนามต้องมีไม่ต่ำกว่า 7 คน และไม่เกิน 11 คน และหนึ่งในนั้นจะต้องมีผู้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู 1 คน, ตัวสำรองสามารถมีได้ไม่เกิน 7 คน
  • กฎข้อที่ 4: อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ ลูกฟุตบอล (ตามกฏข้อ 2) ใช้สำหรับเล่น 1 ลูก และเครื่องแบบของนักกีฬาทีมทั้ง 2 ทีมที่ลงแข่งขันสมาชิกทุกคนในทีมยกเว้นผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งขันสีเดียวกันและทั้ง 2 ทีมจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจนจะใส่ชุดที่มีโทนสีคล้ายกันไม่ได้ (เช่นทีมหนึ่งใสชุดแข่งสีขาวอีกทีมหนึ่งใส่ชุดแข่งสีเหลือง)ผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีไม่ซ้ำกับผู้เล่นทั้ง ทีมและนักกีฬาที่ทำการแข่งขันจะต้องใส่รองเท้า(ในปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักกีฬาใช้เท้าเปล่าเล่น)ที่กล่าวมาเป็นอุปกรณ์การเล่นที่ต้องมีในการแข่งขันยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่กติกาไม่บังคับแต่ผู้เล่นมักจะนิยมใช้กัน คือ สนับแข้ง, ถุงมือและหมวกสำหรับผู้รักษาประตูและยังมีอุปกรณ์ปลีกย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพที่สามารถอนุโลมให้ใส่ในเวลาลงเล่นได้ เช่น แว่นตา (สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทางตา), หน้ากาก, เฮดเกียร์ เป็นต้น
  • กฎข้อที่ 5: กรรมการ
  • กฎข้อที่ 6: ผู้ช่วยกรรมการ
  • กฎข้อที่ 7: ระยะเวลาการแข่งขัน
  • กฎข้อที่ 8: การเริ่มต้นการแข่งขัน
  • กฎข้อที่ 9: บอลออกนอกสนาม
  • กฎข้อที่ 10: วิธีนับคะแนน
  • กฎข้อที่ 11: การล้ำหน้า
การล้ำหน้า (อังกฤษ: Offside) ในกติกาของฟุตบอล หมายถึง ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าเมื่อลูกบอลสัมผัส หรือเล่นโดยผู้เล่นคนหนึ่งในทีมของเขาโดยผู้ตัดสินเห็นว่าเขามีส่วนร่วมกับการเล่นอย่างชัดเจน หรือ เกี่ยวข้องกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม หรือ อาศัยความได้เปรียบจากการอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าขณะนั้นแต่ไม่ถือเป็นการล้ำหน้าในกรณีที่เตะจากประตู หรือเตะจากมุม หรือการทุ่ม
สำหรับการกระทำผิดจากการล้ำหน้า จะลงโทษ โดยให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษ โดยอ้อมจากตำแหน่งกระทำผิด
  • กฎข้อที่ 12: ฟาวล์
  • กฎข้อที่ 13: ฟรีคิก
  • กฎข้อที่ 14: ลูกโทษ
การยิงลูกโทษเป็นการตั้งเตะทำคะแนนในการแข่งขันฟุตบอลโดยลูกฟุตบอลจะอยู่ในตำแหน่งหน้าประตูห่างมาเป็นระยะ 12 หลา (ประมาณ 11 เมตร) โดยมีผู้รักษาประตูคนเดียวเท่านั้นที่อยู่ในตำแหน่งที่ป้องกันได้
ในการแข่งขันฟุตบอลจะมีการยิงลูกโทษสองลักษณะคือลักษณะแรกการยิงลูกโทษระหว่างการแข่งขัน เกิดจากที่ผู้เล่นในฝ่ายรับทำฟาล์วผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามภายในเขตประตูโดยผู้ที่ยิงลูกโทษจะมีสิทธิยิงได้หนึ่งครั้งโดยเมื่อยิงเสร็จแล้วจะปล่อยให้เกมเล่นต่อตามปกติในลักษณะที่สองคือการยิงลูกโทษภายหลังจากหมดเวลาการแข่งขันและทั้งสองฝ่ายมีคะแนนเท่ากันจะทำการยิงลูกโทษในการตัดสินผู้ชนะโดยการยิงลูกโทษลักษณะนี้จะเริ่มต้นโดยผู้ยิงฝ่ายละ 5 คน สลับกันยิงลูกโทษ โดยถ้าไม่สามารถตัดสินกันได้ให้มีการยิงต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผู้ชนะ
การยิงลูกโทษเกิดขึ้นครั้งแรกจากความคิดของผู้รักษาประตูชาวไอร์แลนด์วิลเลียมแม็คครูม(William McCrum) ในปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) โดยได้เสนอไอเดียกับ สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ และได้มีการเสนอความคิดนี้ต่อให้กับ สมาคมฟุตบอลนานาชาติ ซึ่งมีการรับรองเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2434 และมีการใช้กันในช่วงฤดูกาล 1891-92

ขอบคุณข้อมูลจาก 
https://rathanonthongmee.wordpress.com/2015/06/24/
https://sites.google.com/site/thaksakarreiynruphlsuksa/thaksa-


วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัดบทที่2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม


แบบฝึกหัด

บทที่
 2  บทบาทสารสนเทศกับสังคม                                                กลุ่มเรียน 1
รายวิชา
  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน             รหัสวิชา 0026008
ชื่อ-สกุล  นายเมืองชัย วนชัยสงค์                                                    รหัส 57010115044
คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่าง ๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ
1.1
  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา

http://www.thaiebook.org/ 
- http://www.vcharkarn.com/
- http://www.thaigoodview.com/
1.2
  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน
- http://www.dbd.go.th/main.php?filename=intro_balance
- http://www.tarad.com
- http://www.goldtraders.or.th/DailyPrices.aspx
1.3  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน
- http://www.seedmcot.com/
- http://www.dailynews.co.th/Content
- http://www.komchadluek.net/index.php
1.4  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
- http://www.carryboy.com/
- http://www.industry.go.th/industry/
- http://www.dip.go.th/
1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
- http://www.dmsc.moph.go.th/dmsc/home.php
- http://www.worldcommunitygrid.org/
- http://www.samunpri.com/
1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
- http://www.rpca.ac.th/
- http://www.rtsd.mi.th/
- http://www3.navy.mi.th/
1.7  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
- http://www.thaiengineering.com/
- http://www.coe.or.th/e_engineers/coeindex.php
- http://www.civilclub.net/
1.8  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
- http://www.skywaterthai.com/001.html
- http://www.doae.go.th/
- http://www.kasetporpeang.com/
1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่าง ๆ
- http://nep.go.th/
- http://www.healthyability.com/
- http://www.blind.or.th/
2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3 อย่าง
- อุปกรณ์ที่ทันสมัยห้องเรียนสมัยใหม่มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์
-การให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย  Wifi
- การให้บริการห้องสมุดและสำนักวิทยบริการของมหาลัย
3. ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
-
 การใช้เข้าดูตารางเรียนได้ทั่วมหาลัย ทั้งยังสามรถนำมาใช้เป็นระบบสื่อสารได้ และเป็นแบบแผนในการทำงานได้ สะดวกในการทำงาน และรวดเร็วในการในการค้นหาข้อมูลต่างๆ

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559


แบบฝึกหัดบทที่ 1

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                  รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ  นายเมืองชัย วนชัยสงค์                                                            รหัส 57010115044
จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ                            กลุ่มเรียนที่1
1.ข้อมูลหมายถึง
=ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผลซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
2.ข้อมูลปฐมภูมิคือ
=(Primary Data) เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะเก็บด้วยการสัมภาษณ์หรือสังเกตการณ์ เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนรูป และมีรายละเอียดตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก
ยกตัวอย่างประกอบ
เช่น ข้อมูลที่ได้จากการนับจำนวนรถที่เข้า - ออก มหาวิทยาลัยในช่วงเวลา 08.00 - 09.00 น . ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักศึกษา ข้อมูลน้ำหนักเพื่อนในห้องเรียนที่ได้จากการสัมภาษณ์
3.ข้อมูลทุติยภูมิคือ
=(Secondary Data) เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว เป็นข้อมูลในอดีต และมักจะเป็นข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้นมาแล้ว ผู้ใช้นำมาใช้ได้เลย จึงประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย บางครั้งข้อมูลทุติยภูมิจะไม่ตรงกับความต้องการหรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอ นอกจากนั้นผู้ใช้จะไม่ทราบถึงข้อผิดพลาดของข้อมูล ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่นำมาใช้ สรุปผลการวิจัยผิดพลาดไปด้วย
ยกตัวอย่างประกอบ
เช่น สถิติการเกิดอุบัติเหตุโดยรถจักรยานยนต์ของนักศึกษาในปี 2556 - 2557 ข้อมูลนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ในปี พ.ศ. 2555
4.สารสนเทศหมายถึง
=สารสนเทศ หรือสารนิเทศ (Information) เป็นคำเดียวกันซึ่งสามารถให้ความหมายอย่างกว้างๆ ว่าหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความหมายในเชิงลึกว่า หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ผ่านการประมวลผล ซึ่งมีความหมายและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน หรือการทำงานนั้นๆ
5.จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ
=การจำแนกประเภทของสารสนเทศได้มีการจำแนกออกเป็น ตามแหล่งสารสนเทศและตามสื่อที่จัดเก็บ ดังนี้ คือ (มาลี ล้ำสกุล,2549)
1.สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ จำแนกได้ดังนี้
1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมมและสัมมนาวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่าง ๆ ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายเหตุ วิทยานิพนธ์ และการถ่ายทอดทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขป เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่าง ๆ ดรรชนีและสาระสังเขป
1.3 แหล่งตติยภูมิ (Tertiary Source) คือ สารสนเทศทีจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึงได้มีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ มักจะออกนำเผยแพร่ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออฟไลน์
2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง
2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทีก รวมทั้งการเขียนและการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน
2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็นแผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้น เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญ วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิตอล เช่น เทปวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ
6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ
=ข้อมูล
7.ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น
=สารสนเทศ
8.ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น
=ข้อมูลปฐมภูมิ
9.ผลของการลงทะเบียนเป็น
=ข้อมูลทุติยภูมิ
10.กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวันSectionวันอังคารเป็น
=ข้อมูลตติยภูมิ