วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทที่8การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม   กลุ่มที่เรียน

รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน   รหัสวิชา 0026 008

ชื่อ –สกุล นายเมืองชัย วนชัยสงค์    รหัส 57010115044


1) " นาย  ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP - Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง"
การกระทำอย่างนี้เป็นการทำผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุได และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
=  เป็นการกระทำที่ผิด เพราะโปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดลองวิจัยเท่านั้น ไม่ได้มีการเผยแพร่ให้ใช้งานจริง ขณะเดียวกันคนที่นำไปใช้คือนาย B ซึ่งไม่ได้รับการเห็นชอบของนาย A ผู้พัฒนา โดยนำไปแกล้งนางสาว C ความผิดนี้ ถือเป็นการขโมยทรัพย์สินทางปัญญาและการนำโปรแกรมในการทดลองไปใช้จริง
ต่อมานางสาว C ก็ถือว่ามีความผิด ที่เผยแพร่โปรแกรมทดลองนี้ต่อไปอีก เป็นการกระจายโปรแกรมออกไปอีก ซึ่งในทางจริยธรรมแล้ว นาย B เป็นคนผิดที่เริ่มนำโปรแกรมไปใช้ก่อน นางสาว C รู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงเผยแพร่โปรแกรมออกนั่นเอง ทำให้ผิดจริยธรรมเพราะการสร้างโปรแกรมขึ้นมาแล้วใช้แกล้งคนอื่นโดยไม่เกิดประโยชน์และทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายก่อกวนระบบถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและผิดจริยธรรม

2) " นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐานอ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J "
การกระทำอย่างนี้เป็นการทำผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหนจงอธิบาย

=   จะตัดสินว่าผิดหรือไม่ ต้องดูที่เจตนาของผู้ที่สร้างเพจหากตั้งใจกระทำเพื่อความสนุกสนานก็ควรที่จะระบุให้ชัดเจน หากไม่มีการระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดอาจจะทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดอย่างไม่ได้เจตนาและเป็นการผิดจริยธรรมได้ เพราะโลกออนไลน์ นั้น ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว ผู้บริโภคจึงควรที่จะมีความรอบคอบให้มากๆ  

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 7

บททที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ   กลุ่มเรียนที่ 1 

รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 0026 008

ชื่อ นายเมืองชัย วนชัยสงค์ 57010115044


1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ
         =Firewall  คือ ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย หน้าที่ของไฟร์วอลคือเป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสาร โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย โดยความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลมีช่องโหว่ และนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้
Firewall เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ Firewall นั้น จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานระหว่าง Network ต่าง ๆ (Access Control) โดย Firewall จะเป็นคนที่กำหนด ว่า ใคร (Source) , ไปที่ไหน (Destination) , ด้วยบริการอะไร (Service/Port)
ถ้าเปรียบให้ง่ายกว่านั้น นึกถึง พนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ ที่เราเรียกกันติดปากว่า ยาม” Firewall ก็มีหน้าที่เหมือนกัน ยามเหมือนกัน ซึ่ง ยามจะคอยตรวจบัตร เมื่อมีคนเข้ามา ซึ่งคนที่มีบัตร ยามก็คือว่ามี สิทธิ์” (Authorized) ก็สามารถเข้ามาได้ ซึ่งอาจจะมีการกำหนดว่า คน ๆ นั้น สามารถไปที่ชั้นไหนบ้าง (Desitnation) ถ้าคนที่ไม่มีบัตร ก็ถือว่า เป็นคนที่ไม่มีสิทธิ์ (Unauthorized) ก็ไม่สามารถเข้าตึกได้ หรือว่ามีบัตร แต่ไม่มีสิทธิ์ไปชั้นนั้น ก็ไม่สามารถผ่านไปได้ หน้าที่ของ Firewall ก็เช่นกัน

2.จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm , virus computer , spy ware , adware มาอย่างน้อย1โปรแกรม
  =Spyware เป็นโปรแกรมที่แฝงมาขณะเล่นอินเตอร์เน็ตโดยจะทำการติดตั้งลงไปในเครื่องของ เรา และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของท่านอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป

3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
=ไวรัสคอมพิวเตอร์ในโลกนี้มีนับล้านๆ ตัวแต่คุณรู้ใหมครับว่าดดยพื้นฐานของมันแล้วมา จากแหล ่งกำเหนิดที่เหมือนๆ กันซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ออกมา ได้ดังนี้
3.1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses
คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน ขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน
การทำงานของบูตเซกเตอร์ไวรัสคือ จะเข้าไปแทนที่โปรแกรมที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Partition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมา เมื่อมีการเรียนระบบปฏิบัติการ จากดิสก์นี้ โปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยค วามจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรม มา ก่อนที่จะไปเรียนให้ระบบปฏิบัติการทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
3.2. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses) หรือ File intector  viruses
เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วยการทำงานของไวรัสประเภทนี้ คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไ ปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำ งานตามปกติ เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้วหลังจากนี้หากมีการ เรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
นอกจากนี้ไวรัสนี้ยังมีวิธีการแพร่ระบาดอีกคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหา โปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ติดเพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตามปกติต่อไป
3.3. ม้าโทรจัน (Trojan Horse)
 เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโ ปรแกรมธรรมดา ทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียนขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำ อธิบาย การใช้งาน ที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ
จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันคือเข้าไปทำอันตรายต่อ ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วง เอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโป รแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและ สร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบต์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมม้าโทรจันได้
3.4. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses)
เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจัดโดยโปรแกรมตรว จหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
3.5. สทิลต์ไวรัส (Stealth Viruses)
 เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อกา รตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรม ใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้
เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
3.6. Macro viruses
จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสาร ติดไวรัสแล้ว ทุก ๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสียหาย

 4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
=1.อย่าเปิดอ่านอีเมลแปลก ๆ เวลาที่คุณเช็กอีเมล ถ้าเผอิญเจออีเมล์ชื่อแปลก ที่ไม่รู้จักให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าต้องมีไวรัสแน่นอน แม้ว่าชื่อหัวข้ออีเมลจะดูเป็นมิตรแค่ไหน ก็อย่าเผลอกดเข้าไปเด็ดขาด
 2.ใช้โปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส (Anti-virus) ต้องยอมรับว่า ไม่มีโปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัสโปรแกรมใดสมบูรณ์แบบ จะต้องอัพเดตโปรแกรมที่ใช้ตรวจจับและกำจัดไวรัสอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ครอบ คลุมถึงไวรัสชนิดใหม่ ๆ
 3.อย่าโหลดเกมมากเกินไป เกมคอมพิวเตอร์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ อาจมีไวรัสซ่อนอยู่ ไม่ควรโหลดมาเล่นมากเกินไป และควรโหลดจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น บางทีเว็บไซต์จะมีเครื่องหมายบอกว่า “No virus หรือ Anti virus” อยู่แบบนี้ถึงจะไว้ใจได้
4.สแกนไฟล์ต่าง ๆ ทุกครั้งก่อนดาวน์โหลดไฟล์ทุกประเภท ควรทำการสแกนไฟล์ รวมทั้งข้อมูลจากภายนอกก่อนเข้ามาใช้ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น CD, Diskette หรือ Handy drive ต้องใช้โปรแกรมค้นหาไวรัสเสียก่อน
5.หมั่นตรวจสอบระบบต่าง ๆ ควรตรวจสอบระบบต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ เช่น หน่วยความจำ, การติดตั้งโปรแกรมใหม่ ๆ ลงไป, อาการแฮงค์ (Hang) ของเครื่องเกิดจากสาเหตุใด บ่อยครั้งหรือไม่ ซึ่งคุณอาจจะต้องติดตั้งโปรแกรมพวกบริการ (Utilities)ต่าง ๆ เพิ่มเติมในเครื่องด้วย

5. มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบันได้แก่
=มาตรการทาง คุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่ การจัดระบบการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ทางด้านคุณธรรมและ จริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นเข้าไปชักนำโลกเสมือนจริงและการทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซ เบอร์ไปในทางที่ถูกที่ควร
ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ประกาศใช้พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่กระทำผิดอย่างจริงจัง มีผู้ควบคุมดูและระบบใหญ่และระบบย่อยทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดขึ้น นอกจากนี้ต้องมีการส่งเสริมให้คนมีคุณภาพเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ต และต้องสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นมากๆ รณรงค์ให้ผู้บริหารฯ อาจารย์ นักวิชาการ หรือแม้กะทั่งนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทำการเขียนบทความลง website weblog เหล่านี้จะเป็นการส่งเสริมผลักดันให้มีเว็บไซต์คุณภาพ ที่สำคัญคือสถานศึกษาต้องปลูกฝังจิตสำนึกของนักเรียนในสถาบันของตนเองให้มี ความรู้ ความเข้าใจในการใช้Internet อย่างถูกต้อง.


วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัดบทที่ 6

บทที่6 การประยุกใช้สารสนเทสในชีวิตประจำวัน กลุ่มเรียนที่ 1

รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน   รหัสวิชา 0026 008

ชื่อ นาย เมืองชัย วนชัยสงค์  57010115044

จงตอบคำถามต่อไปนี้ 

1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ไห้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด ?

    *4. พัฒนาการ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?

    *2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล

3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม ATM เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?

    *1. ระบบอัตโนมัติ

4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ?

    *4. ถูกทุกข้อ

5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?

    *1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชต่อมวลมนุษย์

6. เครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?

    *4. ถูกทุกข้อ

7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?

    *4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ

8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?

    *1. เครื่องถ่ายเอกสาร

9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ?

    *3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

10. ข้อใดคือประโยชน์ของการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน

      *4. ถูกทุกข้อ

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัดบทที่ 5

บทที่5 การจัดการสารสนเทศ               กลุ่มเรียนที่ 1

รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน  0026 008
ชื่อ นาย เมืองชัย วนชัยสงค์ 57010115044

จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ

    = การจัดการสารสนเทศ คือ การจัดกิจกรรมหลัก ต่างๆ ในการจัดหา การจัดโครงสร้าง การควบคุมการผลิต การเผยแพร่ และการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินงานขององค์กรทุกประเภทอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสารสนเทศในที่นี้หมายถึงสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่าไม่ว่าจะมีแหล่งกำเนิดจากภายในหรือภายนอกองค์กร 


2.การจัดการสารสนเทศมีผลต่อบุคคลและองค์กรอย่างไร

   = การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษาและการประกอบอาชีพต่างๆ ความสำคัญในด้านการทำงานบุคคลจำเป็นต้องใช้สารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ภาระหน้าที่ประการทำงานทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติ การจัดเก็บสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวามรับผิดชอบตามภารกิจส่วนตัว ช่วยสนับสนุนให้ทำงานประสบผลสำเร็จ 


3.พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง

    = แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ        1. การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ        2. การจัดการสารสนเทศโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์


4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย3ตัวอย่าง

    =1. การใช้งานFacebook และสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ      2. การสืบค้นข้อมูลความรู้ต่างๆจาก Internet       3. การติดต่อสื่อสารทางไกล      4. การใช้บริการชำระภาษีออนไลน์

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

3 สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี ที่คัดมาพิเศษ

              1.เมืองคำชะโนด







   ลักษณะพื้นที่โดยรอบเป็นเกาะ มีต้นชะโนด เกิดขึ้นรวมกันอยู่ เป็นกลุ่มประมาณ 20 ไร่ เป็นต้นไม้ชนิดที่หายากมาก ในประเทศไทย   ประกอบด้วยต้นมะพร้าว ต้นหมาก และต้นตาล รวมกันเป็นต้นชะโนด ภายในป่าชะโนดยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์อยู่ตรงกลางเกาะ เรียกว่า บ่อคำชะโนด เป็นน้ำใต้ดินที่พุ่งไหลซึมตลอดเวลา ทางจังหวัดได้เลือกน้ำจากบ่อนี้ไปร่วมในพิธีสำคัญเสมอ นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าพ่อพระยาศรีสุทโธ   ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ในความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง  ตามเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นพญานาคราช ที่อาศัยอยู่ในเมืองบาดาล และใช้เมืองคำชะโนดแห่งนี้ เป็นที่ขึ้นลงติดต่อระหว่างเมืองบาดาลกับเมือง มนุษย์ และยังมีเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์น่าอัศจรรย์ของสถานที่นี้ ให้เป็นที่เล่าขานแก่ชาวเมืองคำชะโนด
         การเดินทางจากอุดรธานีไปได้ 2 เส้นทาง คือเส้นทางสายอุดร-หนองคาย เลี้ยวขวาตรง ทางแยกบ้านนาข่า ตามทางหลวงหมายเลข 2255ถึงสามแยกบ้านสุมเส้าแล้ว เลี้ยวขวา ไป อ.บ้านดุง ต่อไปหมู่บ้านสันติสุข ถึงวัดศิริสุทโธ อีกประมาณ 12 กม .
หรือใช้เส้นทางอุดร-สกลนคร ประมาน 45 กม. แล้วเลี้ยวซ้ายแยกบ้านหนองแม็ก ไป อ.บ้านดุง อีกประมาณ 40 กม . แล้วไปหมู่บ้านสัติสุขถึงวัด ศิริสุทโธอีกประมาณ 12 กม.

2.วัดป่าภูก้อน



วัดป่าภูก้อนตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสมท้องที่บ้านนาคำ ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี อันเป็นแผ่นดินรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย กำเนิดขึ้นจากความดำริชอบของพุทธบริษัทผู้ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของป่าไม้ธรรมชาติซึ่งกำลังถูกทำลายโดยมุ่งจะดำเนินตามรอยพระยุคลบาทในการรักษาความสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำลำธารตลอดจนสัตว์ป่าและพรรณไม้นานาพันธุ์เพื่อให้เป็นมรดกของลูกหลานแผ่นดินไทยตราบนานเท่านาน
           โดยในปี พ.ศ.2527 ครอบครัวคุณโอฬารและคุณปิยวรรณ วีรวรรณ ได้เดินทางมาธุดงค์กรรมฐาน และเกิดความเลื่อมใสในปฏิปทาของพระป่าได้ช่วยเหลือด้านกฎหมายเป็นระเบียบของกรมป่าไม้ ให้วัดป่าสามารถอาศัยพื้นที่ป่าสงวนได้อย่างถูกต้องต่อมาท่านพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก เจ้าอาวาสวัดป่านาคำน้อย ได้เมตตาพาไปดูป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ยิ่งแต่กำลังจะถูกสัมปทานตีตราตัดไม้คณะศรัทธาจึงได้ตัดสินใจสร้างวัดโดยกราบอาราธนาท่านพระอาจารย์ชาลี ถิรธัมโม (ปัจจุบันเป็นพระครูจิตตภาวนาญาณ)เป็นประธานและขวัญกำลังใจในการก่อสร้าง จนเป็นผลสำเร็จดังนี้
            วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2530 ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่านายูงและป่าน้ำโสม ภายในเนื้อที่ 15 ไร่
            วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ได้รับอนุญาตจากกรมศาสนาให้สร้างวัด
            วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการตั้งเป็น  “วัดป่าภูก้อน
            วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2531 เพื่อรักษาบริเวณวัดให้คงสภาพป่าอย่างสมบูรณ์ คณะศรัทธาจึงพยายามอย่างหนักที่จะขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่โดยรอบวัดด้วยจนในที่สุดได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อจัดตั้งพุทธอุทยาน มีเนื้อที่ 1,000 ไร่ และได้รับขนานนาม
3.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง




บ้านเชียงแบ่งออกเป็น2คือ
ส่วนที่1คือตั้งอยู่ด้านขวาของทางเข้าอยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีเป็นพิพิธภัณแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทยเป็นนิทรรศการถาวรแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดิน

ส่วนที่2ตั้งอยู่ด้านซ้ายของทางเข้าเป็นอาคารจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราววัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีตตลอดจนเครื่องใช้ที่แสดงถึงภูมิปัญญาในอดีตนอกจากนี้อาคารภายในยังมีการจัดนิทรรศการห้องบรรยาย ฉายภาพยนต์ และให้บริการเรื่องข้อมูลความเป็นมาต่างๆ

#เส้นทางสู่บ้านเชียง จาก จ.อุดรธานี ไปตามทางหลวงหมายเลข 22 เส้นอุดร-สกลนคร ถึงกิโลเมตรที่50 แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางหลวงหมายเลข2225 เข้าสู่หมู่บ้านเชียงอีก6กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวเมืองอุดร 56 กิโลเมตร

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
http://hmaungudsw.net/wizContent.asp?wizConID=154&txtmMenu_ID=40

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประวัติกีฬาฟุตบอล ความเป็นมาของฟุตบอล

ประวัติกีฬาฟุตบอล ความเป็นมาของฟุตบอล



     กำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ไหนไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่จากหลักฐานทางประวัติศาตร์กล่าวว่า การเตะลูกบอลเริ่มเกิดขึ้นในงานการแข่งขันฉลองอื่นๆ ซึ้งหาได้ง่ายตามประเทศต่างๆและพบในประเทศที่มีวัฒนธรรมต่างๆกัน เช่น 

ในสมัยกรีกโบราณ ได้เล่นกีฬาประเภทหนึ่งคล้ายฟุตบอล เรียกว่า "เอพปิสไกย์รอย" (Episiskiyros) 
ในสมัยบาบีโลเนียและสมัยอียิปต์โบราณ ฟุตบอลทำมาจากหนังสัตว์เย็บสลับไปมาแล้วห้มข้างนอกด้วยฟางหรือผม 
ในสมัยประเทศจีน เมื่อก่อนคริสต์กาล3,000ปี ได้เล่นกีฬาชนิดหนึ่งที่คล้ายการเล่นฟุตบอลเรียกว่า"ทีซูชุ"(Tsu chu) 
ในสมัยประเทศญี่ปุ่น ก่อนต้นศตวรรษที่14 ได้เล่นกีฬาชนิดหน฿งที่คล้ายการเล่นฟุตบอลเรียกว่า"เคมาริ"หรือ"เคอร์นาร์"(Kemari หรือ Kernart) 
ในประเทศฝรั่งเศษสมัยกลาง ได้เล่นกีฬาคล้ายฟุตบอลเช่นกันเรียกว่า"คาลซิโอ"(Calcio) 
ในประเทศเม็กซิโก ได้เล่นกีฬาคล้ายฟุตบอลเรียกว่า"โกมาคาริ"(Gomacari) 
ในสมัยโรมัน เริ่มฟุตที่มีลมข้างใน โดยพวกเขาได้นำเอากระเพาะปัสสาวะของวัวที่เพิ่งตายใหม่ๆแล้วห้มด้วยขน เกมที่ใช้กระเพาะปัสสาวะของวัว(Ox's bladder)มาเล่นนี้ได้ถูกเรียกว่า"ฮาร์ปาสตัม"(Harpastum)บางตำราเรียกว่า"Harpaston" หรือ "Harpaston"ก็มีซึ่งชาวโรมันเอาแบบมาจากขาวกรีกโบราณ 

     เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อ900ปีกว่ามาแล้วนั้น ดินแดนบางส่วนของประเทศอังกฤษตอนใต้ตกอยู่ในความปกครองของพวงทหารโรมัน ซึ่งได้ยกกองทหารมาตีหมู่เกาะอังกฤษตอนใต้ในต้นศตวรรษที่11 และได้ปกครองอังกฤษเรื่อยมาจนถึงพ.ศ.1589 ขณะที่อยู่ในประเทศอัวกฤษนั้น ทหารโรมันได้เล่นเกมส์ชนิดหนึ่งซึ่งแบ่งผู้เล่นออกเป็น2ทีมเท่ากัน 

     ครังแรกเกมนี้จะเล่นเฉพาะคนที่อยู่ในวัยฉกรรจ์เท่านั้น ซึ่งเป็นการเล่นที่รุนแรงป่าเถื่อนและโหดร้ายซึ่งเล่นกันทั่วเมืองหรือทั่งหมู่บ้าน เป้าหมายในการเล่นคือ พยายามพาลูกบอลลูกหนึ่งจากตำบลหนึ่งไปสู่อีกตำบลหนึ่งโดยถูกต้องตามกติกา ซึ่งกติกาได้ก่อความยุ่งยากมาก ทำให้ถูกตำหนิและถูกห้าม โดยกษัตริย์องค์ที่7 ในระหว่างพ.ศ.1743และพ.ศ.2193 แต่กระนั้นก็ยังคงมีการแข่งขันอยู่ แต่การเล่นฟุตบอลเหมือนกับกีฬาที่เล่นเป็นทีมบางชนิดที่ต้องใช้กติกาซึ่งเริ่มต้นไม่อิสระทั้งหมด แต่แพร่หลายมาตามโรงเรียนโดยทั่วไป

     ที่โรงเรียน เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ฟุตบอลเป็นการสันทนาการทางด้านร่างกาย หลังศตวรรษที่18และหลังจากนั้นก็กลายเป็นความทรงจำว่าเป็นกีฬาที่นิยมที่สุดของอังกฤษ แต่ละโรงเรียนได้พัฒนาการแข่งขันด้วการกำหนดกติกา ขนาดประตู จำนวนของทีม ฯลฯ 

     การวางเงื่อนไขที่สำคัญ โดยอาศัยหลักธรรมชาติ ฟุตบอลได้พัฒนามาจากการเล่นด้วยมือและเท้า การเล่นเกมที่โรงเรียนในชนบทจะเล่นบนสนามหญ้าหรือทุ่งหญ้า ด้วยการเลี้ยงและส่ง ส่วนในโรงเรียนในเมืองจะเล่นเกมส์นี้บนพื้นดินที่มีขอบเขตที่กำหนดด้วยหินหรือธง 

     การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในสมัยโบราณกาลของโรมันมีลักษณะแปลกอยู่อย่างคือ ข้างหนึ่งจะมีนักฟุตบอล27คน ซึ่งการแข่งขันที่รุนแรง พอแข่งเสร็จจะถูกหามส่งโรงพยาบาลกันเป็นแถว ดูเหมือนเกมรุนแรงประเภทนี้จะเป็นประวัติศาสตร์ของกีฬาประเภทหนึ่งในหมู่เกาะอังกฤษ และในหมู่เกาะไอร์แลนด์จะไม่จำกัดจำนวนผู้เล่นและขนาดของสนาม เล่นในที่แจ้ง ไม่มีการพัก ไม่มีประตู จะพยายามเข้าข้างหลังคู่ต่อสู้ บางครัง้จะมีการล่วงเกินกัน เพราะว่าเขาจะใช้หมัดชกคู่ต่อสู้ได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดการพิพาทกัน 

     พ.ศ.1857 สมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด(King Edward)ของอังกฤษ มีการประกาศจำคุกผ้เล่นฟุตบอลหลังจากกันมาแล้ว1000ปี ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่า อังกฤษชนะโรมันในการแข่งขันฟุตบอลถูกเรียกว่าเดอร์บีในอังกฤษ35ปีหลังจากนั้น 

     พ.ศ.2224 ขุนนางชาวอังกฤษซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับฟุตบอลอีตาเลียน ได้แนะนำให้ทำตราของกีฬาประเภทนี้ และในขณะนั้นก็มีกติกาแล้วกีฬาประเภทนี้กำลังเป็นที่แพ่รหลายไปทั่วประเทศออานานิคมของอังกฤษ ฟุตบอลได้เริ่มแข่งขันภายใต้กฏของสมาคม มีดังนี้

ก่อน พ.ศ.2343 การเริ่มมีกฏมาตราฐานขึ้น แต่ยังหยาบคายอยู่ 

พ.ศ.2366 เกิดเกม 2 ชนิด คือ ฟุตบอล กับ รักบี้ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดอเมริกาฟุตบอล 
พ.ศ.2398 สโมสรฟุตบอล เชฟฟิลด์(Sheffield)เกิดในอังกฤษ 
พ.ศ.2403 มหาวิทยาลัยฮาร์เวอร์ด(Harward)ได้ตั้งทีมฟุตบอลขึ้น 
พ.ศ.2406 ตั้งสมาคมฟุตบอลอังกฤษในลอนดอน แสดงให้เห็นว่า ฟุตบอลต่างจากรักบี้ และมีระเบียบกฎเกณฑ์ในการเล่น 
พ.ศ.2412 การเล่นฟุตบอลครั้งแรกระหว่าง รัทเกอร์ กับ ปริ้นซีตัน(Rutgers and Princeton) 
พ.ศ.2413 ฟุตบอลเริ่มเล่นในอเมริกาครั้งแรก 
พ.ศ.2415 จำกัดขนาดของลูกฟุตบอลและมีที่ป้องกันคางในอังกฤษ 
พ.ศ.2421 ใช้นกหวีดครั้งแรก 
พ.ศ.2425 ตกลงกติกาสากลครั้งแรก 
พ.ศ.2426 ใช้มือ 2 มือขว้างลูกบอลได้ในเขตประตู 
พ.ศ.2427 ตั้งสมาคมฟุตบอลในอเมริกาครั้งแรก 
พ.ศ.2428 มีฟุตบอลอาชีพในอังกฤษเป็นครั้งแรก 
พ.ศ.2429 แข่งขันระหว่างชาติครั้งแรก ระหว่างสหรัฐฯกับแคนาดา 
พ.ศ.2433 มีตาข่ายประตูครั้งแรกในอังกฤษ 
พ.ศ.2434 มีผู้กำกับเส้น และมีการเตะลูกโทษเมื่อทำผิดกติกา 
พ.ศ.2443 ตั้งสหพันธ์ฟุตบอลโลกขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส 
พ.ศ.2448 ผู้รักษาประตูต้องอยู่ในเขตที่กำหนด และจะเล่นลูกได้เฉพาะในเขตโทษเท่านั้น 
พ.ศ.2450 ตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้นในต่างจังหวัดและมีการฝึกสอน(ครูผู้ฝึก)ขึ้นเป็นครั้งแรก 
พ.ศ.2451 เริ่มแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรกในกรุงลอนดอน และอังกฤษชนะเลิศ 
พ.ศ.2455 ผู้รักษาประตูใช้มือได้ในเขตโทษ 
พ.ศ.2456 ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องถอยหลังห่างลูกบอล 6 หลา ในการเตะโทษ 
พ.ศ.2463 ผู้เล่นต้องไม่ล้ำหน้าในการเล่นฟุตบอล(ห้ามล้ำหน้า) 
พ.ศ.2467 มีการเตะมุม 
พ.ศ.2468 มีกฎการล้ำหน้า และมีกติกาเล่นคล้ายๆปัจจุบัน 
พ.ศ.2472-73 ผู้รักษาประตูต้องยืนอยู่ในเขตประตู 
พ.ศ.2473 มีการแข่งขันชิงถ้วยฟุตบอลโลกครั้งแรกที่อุรุกวัย และอุรุกวัยเป็นแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งแรก โดยการเอาชนะอาร์เจนตินา 4:2 
พ.ศ.2474 ผู้รักษาประตูขว้างไปยังฝ่ายตรงข้ามได้และเดินได้ 4 ก้าว เดิม 2 ก้าว 
พ.ศ.2480 การเตะลูกโทษ ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างลูกบอล 10 หลา 
พ.ศ.2484 ทหารเล่นฟุตบอลอย่างรุนแรงเพื่อสร้างความกล้าหาญ เหี้ยมหาญ สนามยังไม่ได้มาตรฐาน 
พ.ศ.2493 อเมริการ่วมแข่งขันฟุตบอลโลกที่บราซิล อุรุกวัยชนะเลิศ 
พ.ศ.2493 มีการสอนฟุตบอลในโรงเรียนราษฎรร์ของอังกฤษ และโรงเรียนต่างๆเล่นกันทั่วไปกติกาและสนามคล้ายปัจจุบัน 
พ.ศ.2499 ทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรก ที่กรุงเมลเบอร์น ประเทศออสเตรเลีย(โอลิมปิกครั้งที่ 9) 
พ.ศ.2511 ทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกครั้งที่ 2 ที่ประเทศเม็กซิโก(เป็นการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิกครั้งที่ 12) ฮังการีชนะบัลแกเรีย 4:1 ฮังการีจึงเป็นทีมชนะเลิศ 
พ.ศ.2515 ทีมฟุตบอลอเมริกาเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรก ที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนีตะวันตก โปแลนด์เป็นทีมชนะเลิศ




ทั้งหมดนี้คือประวัติความเป็นมาของฟุตบอลคร่าวๆหากผิดพลาดประการใดกระผมก็ขออภัยมาณที่นี้ด้วยครับ ยังไงก็ติดตามเชียร์และเป็นกำลังใจให้ทีมชาติไทยในฟุตบอลโลกรอบ12ทีมด้วยน่ะครับผม!!

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://www.kkdopa.com/amp08/footbal.html 

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัด บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัด
บทที่4 การรู้สารสนเทศ     กลุ่มที่1
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026008
ชื่อ นายเมืองชัย วนชัยสงค์  รหัส 57010115044
คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.) ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อล่ะ 3 ชนิดแล้วแลกกันตรวจสอบกับเพื่อน

1.1 การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
      =  CD  ,  DVD ,   Floppy Disk

1.2 การแสดงผล
      = Projector , Monitor , Plottor 

1.3 การประมวลผล
      = เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้ง ฮาร์ตเเวร์และซอร์ฟแวร์

1.4 การสื่อสารเเละเครือข่าย
      = วิทยุ , โทรเลข , โทรศัพท์

2.) ให้นิสิตนำตัวเลข มาเติมข้อคำถามในด้านล่างที่มีความสัมพันธ์กัน

คำตอบ
1. ส่วนใหญใช้ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล
2. e-Revenue
3. เทคโนโลยีต่างๆที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ ความรวดเร็วต่อการนำไปใช้งาน
4. มีองค์ประกอบพื้นฐาน3ส่วนได้แก่ Sender Medium และ Decoder
5. การใช้งานสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
8.โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
9. CAI
10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำถาม
= 8  ซอฟต์แวร์ประยุกต์
= 3  Information Technology 
= 1  คอมพิวเตอร์ในยุกต์ประมวลผลข้อมูล
= 4  เทคโนโลยีประกอบด้วย 
= 10  ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
= 7  ซอฟต์แวร์ระบบ
= 9  การนำเสนอบทเรียนในรูปแบบมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
= 5  EDI
= 6  การสื่อสารโทรคมนาคม
= 2  บริการชำระภาษีออนไลน์

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ

แบบฝึกหัด

บทที่3 การรู้สารสนเทศ
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 0026008
ชื่อ นายเมืองชัย วนชัยสงค์  
รหัส 57010115044  กลุ่ม 1



คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด


1.ข้อใดคือความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ

*ง.ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้สารสนเทศ

2.จากกระบวนการสารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการใดสำคัญที่สุด

*ง.ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

3.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ

*ค.ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม

4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ

*ค.สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง

5.ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง

    1.ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
    2.ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
    3.ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
    4.ความสามรถในการค้นหาสารสนเทศ
    5.ความสามรถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
*ค.5-4-1-2-3

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ทักษะเบื้องต้นในการเล่นฟุตบอล

ทักษะเบื้องต้นในการเล่นฟุตบอล
แนวคิด
การเล่นกีฬาฟุตบอลให้เกิดประสิทธิภาพผู้เล่นต้องเรียนรู้จนเกิดทักษะพื้นฐานหลายด้านอาทิการเคลื่อนไหวเบื้องต้นการทำความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอลการหยุดหรือบังคับลูกทักษะเหล่านี้มี
ความละเอียดอ่อนและเป็นพื้นฐานสำหรับเทคนิคการเล่นอื่นๆต่อไปซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนจนชำนาญและเป็นทักษะที่ต้องการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การทรงตัว
การทรงตัวเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่มีความสำคัญในการฝึกกีฬาทุกชนิดเพื่อการเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวสามารถทำให้การเล่นกีฬาเป็นไปอย่างต่อเนื่องสนุกสนานเร้าใจท่าทางการทรงตัว
ที่ผู้เล่นฟุตบอลควรฝึกหัดมีดังนี้
1.ทำการทรงตัวและจังหวะการใช้เท้าทั้งบนพื้นดินและในอากาศ
2.การถ่ายน้ำหนักตัวไปสู่เท้าหลักเมื่อมีการครอบครองลูกเตะลูกหรือเลี้ยงลูกฟุตบอล
3.การวิ่งตามแบบของฟุตบอลเช่นวิ่งไปที่มุมสนามวิ่งหาช่องว่างวิ่งตัดกันเพื่อหลอกคู่ต่อสู้
4. การวิ่งซิกแซ็ก เพื่อการหลบหลีกเมื่อเลี้ยงหรือครอบครองลูก
                                                 (จังหวะการทรงตัวในการเลี้ยงบอลและหลบหลีกคู่ต่อสู้)
การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถอยหลัง ไปทางซ้าย ไปทางขวา
มีวิธีการฝึกดังนี้
1.ทิ้งน้ำหนักตัวไปสู่ทิศทางที่จะเคลื่อนที่ไปตาจับอยู่ที่ลูกบอล
2. เคลื่อนเท้าที่อยู่ในทิศทางที่จะเคลื่อนไป นำไปก่อน แล้วจึงเคลื่อนเท้าอีกข้างหนึ่งตามไปโดยเร็ว เช่น ไปทางซ้ายให้ก้าวเท้าซ้ายนำไปก่อนแล้วก้าวเท้าขวาตามไป
3. การใช้ปลายเท้าสัมผัสพื้น ช่วยให้การเคลื่อนไหวรวดเร็วขึ้น
การสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล
พื้นฐานของการเล่นฟุตบอลที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์หรือความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอลเป็นอย่างดีกล่าวคือการเล่นลูกฟุตบอลต้องสามารถทำได้อย่างที่ตั้งใจไว้ทุกประการไม่ว่าจะเป็นการเล่นลูกแบบใดก็ตามการที่ผู้เล่นคุ้นเคยกับลูกฟุตบอลจะส่งผลให้การครอบครองบอลการเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ การควบคุมบังคับทิศทางของลูกฟุตบอลเป็นไปด้วยความแม่นยำดังนั้นจึงควรให้ผู้เล่นฝึกความคุ้นเคยให้ชินกับลูกฟุตบอลมากที่สุด
วิธีการสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล
1.วางเท้าบนลูกฟุตบอลแล้วคลึงด้วยฝ่าเท้าไปมาหน้า หลัง ซ้าย ขวา โดยให้อยู่กับที่ ให้ทำทั้งเท้าซ้าย-ขวา
2.ทำเหมือนข้อที่1แต่ให้เคลื่อนที่ไปตามทิศทางต่างๆด้วย
3.ใช้ฝ่าเท้าตบลูกฟุตบอลให้กระดอนขึ้น-ลงโดยใช้เท้าซ้ายหรือขวาสลับกัน
4.วางเท้าด้านในติดกับข้างลูกฟุตบอลใช้ข้างเท้าด้านในปาดเหนือลูกมาอีกด้านหนึ่งของลูกตอนนี้ลูกฟุตบอลจะอยู่ข้างเท้าด้านนอกแล้วใช้เท้าด้านนอกปาดลูกกลับไปอีกด้านตามเดิมแล้วให้ฝึกสลับเท้าด้วย
5.งัดลูกฟุตบอลด้วยปลายเท้าให้ลูกลอยขึ้นในอากาศหยุดลูกด้วยหลังเท้าหรือฝ่าเท้า
6.งัดลูกฟุตบอลด้วยปลายเท้าให้ลูกลอยขึ้นในอากาศแล้วเดาะลูกด้วยเท้าเข่าหน้าอกศีรษะสลับกัน
7. ทำเหมือนข้อ 6 แต่เคลื่อนที่เป็นระยะทางไกล โดยลูกฟุตบอลไม่ตกถึงพื้น
การหยุดหรือบังคับลูกฟุตบอล
การหยุดลูกได้ดีนั้นทำให้สามารถที่จะบังคับและควบคุมลูกฟุตบอลให้เคลื่อนที่ไปในลักษณะใดก็ได้ตามต้องการเช่นการเลี้ยงการส่งลูกการยิงประตูทำให้ทีมเป็นฝ่ายรุกเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม
เราสามารถหยุดลูกฟุตบอลด้วยส่วนใดของร่างกายก็ได้ ยกเว้นแขนและมือทั้งสองข้างคำจำกัดความ
การหยุดลูก หมายถึงการบังคับลูกที่มาในลักษณะต่างๆทั้งบนพื้นดินและในอากาศให้อยู่ในครอบครองของเราเพื่อจะได้ส่งลูกต่อไปตามความต้องการ
หลักในการหยุดลูกมีอยู่3ประการคือ
1.จะใช้ส่วนใดของร่างกายในการหยุดลูก
2.การเคลื่อนตัวเข้าสู่ตำแหน่งเพื่อหยุดลูกที่ลอยมาหรือกลิ้งมากับพื้น
3. ใช้เทคนิคการผ่อนของร่างกาย เพื่อลดแรงปะทะของลูก
การหยุดลูกด้วยฝ่าเท้า ให้พยายามหยุดลูกฟุตบอลเบาๆการใช้ฝ่าเท้าหยุดลูกให้หยุดลูกที่ส่งเรียดมากับพื้น โดยเปิดปลายเท้าขึ้นปะทะลูกไว้ในครอบครองและให้ฝ่าเท้าสัมผัสส่วนบนของลูกพร้อมที่จะเคลื่อนที่ต่อไป

การหยุดลูกด้วยข้างเท้าด้านใน วิธีนี้สามารถใช้หยุดลูกที่ส่งเรียดหรือต่ำ
1.ใช้ในการควบคุมลูกฟุตบอลให้ตกลงสู่พื้นอย่างประณีตในขณะที่เคลื่อนไปข้างหน้า
2.วางมุมเท้าเพื่อหยุดลูกโดยการบิดลำตัวทางด้านข้างตามแนวที่ลูกลอยมาใช้ข้างเท้าด้านในสัมผัสตรงกลางลูกเพื่อผ่อนแรงปะทะ
3.การหยุดลูกใช้องค์ประกอบ3อย่างคือข้างเท้าด้านในข้อเท้าและพื้นสนาม
4. คาดคะเนจังหวะลูกฟุตบอลกระทบกับเท้าและพื้นดินพร้อม ๆ กัน เพื่อการหยุดลูกไว้อย่างมั่นคง

การหยุดลูกด้วยหลังเท้าวิธีนี้ใช้หยุดลูกฟุตบอลที่ลอยมาให้งอเข่าและยกเท้าขึ้นเพื่อรับลูกที่กำลังจะตกพื้นให้ลดขาและเท้าเพื่อผ่อนแรงปะทะ ตาจ้องมองดูลูก ใช้ขาข้างใดข้างหนึ่งเป็นหลักและทรงตัวให้มั่นคง

การหยุดลูกด้วยหน้าขา
ใช้ในกรณีที่ลูกลอยมาสูงกว่าระดับเอวใช้หน้าขาหยุดลูกไว้โดยให้งอเข่ารับผ่อนแรงโดยลดต้นขาลงแล้วปล่อยลูกตกลงพื้นอยู่กับเท้าเพื่อครอบครองบอลโดยใช้แขนทั้งสองข้างและขาที่ยืนเป็นหลัก
ช่วยในการทรงตัว
การหยุดลูกด้วยหน้าอก
วิธีนี้ใช้รับลูกที่ลอยมาให้แยกแขนทั้งสองออกยืดอกรับลูกแล้วปล่อยลูกลงพื้นอยู่กับเท้าโดยการยืนแยกขาออกเล็กน้อยเพื่อการทรงตัวขณะที่ลูกปะทะกับหน้าอกให้ย่อตัวและไหล่ทั้งสองข้าง
เพื่อลดแรงปะทะ

การหยุดลูกด้วยศีรษะ
ในกรณีที่ลูกฟุตบอลลอยมาสูงเกินกว่าที่จะรับด้วยหน้าอกให้ใช้น้าผากรับแทนโดยยื่นศีรษะออกไปเพื่อรับลูก เมื่อรับแล้วให้ดึงศีรษะกลับ แล้วปล่อยให้ลูกลงพื้นอยู่กับเท้า

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล
มารยาทของนักกีฬาที่ควรปฏิบัติ
การเล่นฟุตบอลก็เหมือนกับการเล่นกีฬาประเภทอื่นๆที่ผู้เล่นจำเป็นต้องมีมารยาทในการเล่นเพื่อให้การเล่นดำเนินไปด้วยดีนอกจากนี้ผู้ดูก็ควรมีมารยาทในการดูเช่นเดียวกันจึงจะทำให้เกิดผลดีต่อการกีฬาอย่างสมบูรณ์
มารยาทของผู้เล่นฟุตบอลที่ดี
1.มีความรักและความสามัคคีในหมู่คณะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกัน
2.มีน้ำใจนักกีฬาแสดงการขอโทษเมื่อรู้ว่าตนเองกระทำผิดรู้จักให้อภัยเมื่อเพื่อนผิดพลาดรู้จักแพ้เมื่อตนเองมีความสามารถและฝีมือไม่มากนัก
3.มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนตามที่ได้รับมอบหมาย
4.ปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่นโดยเคร่งครัด
5. เชื่อฟังการตัดสินของผู้ตัดสิน โดยไม่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้ตัดสินในการตัดสินไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการยั่วยุหรือกลั่นแกล้งผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
6.มีความอดทนเสียสละ
7.กล้าตัดสินใจแสดงความคิดเห็นและแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง
8. มีความสุภาพเรียบร้อยปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบประเพณีที่ดีงาม

                                                       (น้ำใจนักกีฬาเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมี)
มารยาทของผู้ชมที่ดี
1.ไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด
2.แสดงความยินดีแก่ผู้เล่นที่เล่นดีเช่นการปรบมือเป็นต้น
3.ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเองเช่นตะโกนด่าว่ากรรมการ
4.ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการส่อเสียดในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง
5.ไม่กระทำสิ่งใดๆที่ทำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆปฏิบัติงานไม่สะดวก
6. ไม่กระทำสิ่งใดๆ อันเป็นการกีดขวางการเล่นของผู้เล่น
การบำรุงรักษาอุปกรณ์
อุปกรณ์แยกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.อุปกรณ์ของนักกีฬาฟุตบอลได้แก่
1.1รองเท้า ต้องเลือกที่ใส่สบายมีความยืดหยุ่นดีหลังใช้ให้ทำความสะอาดทุกครั้งขัดเงาและใช้หนังสือพิมพ์หรือนุ่นยัดไว้เพื่อให้รองเท้าอยู่ทรงสภาพเดิม
1.2สนับแข้ง ป้องกันการกระแทกไม่ให้ถูกของมีคมหรือเป็นแผลถลอก
1.3เสื้อให้ใช้ผ้าที่วับเหงื่อได้ดีผู้รักษาประตูควรสวมเสื้อแขนยาวป้องกันการเกิดแผลถลอกเวลาล้มหรือพุ่งตัวตัวรับลูกฟุตบอล
1.4กางเกง ควรใช้ผ้าที่ทำจากฝ้ายและสวมใส่สบายเคลื่อนไหวได้อิสระ
1.5ถุงมือสำหรับผู้รักษาประตู ป้องกันการลื่นในสภาพสนามแฉะและมีโคลนหลังใช้ต้องทำความสะอาดและผึ่งให้แห้งในที่ร่ม
2.อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นฟุตบอล
2.1 ลูกฟุตบอล ต้องได้รับการยอมรับจาก F.I.F.A. มีน้ำหนักได้มาตรฐาน 396-453 กรัม หากเปียกน้ำ เปื้อนโคลนต้องทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง
2.2ตาข่ายประตู ต้องไม่ขาดหรือมีช่องโหว่ติดตั้งอย่างมั่นคงใช้แล้วให้เก็บในที่ห่างจากความร้อนและความชื้น
2.3 ป้ายคะแนน และเลขคะแนน ระวังไม่ให้เปียกน้ำ เพื่อป้องกันการผุ เก็บในที่ห่างจากความชื้น เช่นในที่ร่ม หรือห้องเก็บของ
2.4เสาประตูต้องหมั่นตรวจสอบเวลาฝึกซ้อมหรือแข่งขันต้องอยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง
2.5เข็มปล่อยลมลูกบอล ต้องจัดเตรียมไว้เมื่อเติมลมลูกฟุตบอลมากเกินไปหรือไม่ได้มาตรฐาน
2.6 ธงมุมสนาม ปักไว้ที่มุมสนาม ใช้แล้วนำมาเก็บให้เรียบร้อย และนำไปปักเมื่อต้องการใช้การบำรุงรักษาสุขภาพ
กฎ กติกา ฟุตบอล
                                                   (สนามฟุตบอลและขนาดมาตรฐาน)
กติกาฟุตบอล (อังกฤษ: The Laws of the Game)เป็นกฎและกติกาฟุตบอลสากลที่กำหนดโดยสมาคมฟุตบอล ในปัจจุบันมีทั้งหมด 17 ข้อ ดูแลโดยหน่วยงานไอเอฟเอบี
  • กฎข้อที่ 1: สนามฟุตบอล เป็นสนามหญ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 100 หลา ยาว 130 หลา และทำเส้นต่างๆ ในสนามเป็นสีขาวมีลักษณะตามภาพ
  • กฎข้อที่ 2: ลูกฟุตบอล เป็นทรงกลม ทำจากหนัง หรือวัสดุอื่นๆ ตามความเหมาะสมที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น เป็นฟุตบอลเบอร์ 5 มีเส้นรอบวงประมาณ 68-70 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 410-450 กรัม
  • กฎข้อที่ 3: จำนวนผู้เล่นประกอบด้วยทีม 2 ทีม และแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นตัวจริงและตัวสำรอง ผู้เล่นตัวจริงจะเป็นผู้เล่นชุดแรกที่ลงสนาม ส่วนผู้เล่นตัวสำรองมีไว้เพื่อสับเปลี่ยนกับผู้เล่นตัวจริงในกรณีที่ผู้เล่น ตัวจริงไม่สามารถเล่นได้หรือกรณีอื่นๆ ตามความเหมาะสมหรือตามแต่ดุลยพินิจของผู้จัดการทีม ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนามต้องมีไม่ต่ำกว่า 7 คน และไม่เกิน 11 คน และหนึ่งในนั้นจะต้องมีผู้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู 1 คน, ตัวสำรองสามารถมีได้ไม่เกิน 7 คน
  • กฎข้อที่ 4: อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ ลูกฟุตบอล (ตามกฏข้อ 2) ใช้สำหรับเล่น 1 ลูก และเครื่องแบบของนักกีฬาทีมทั้ง 2 ทีมที่ลงแข่งขันสมาชิกทุกคนในทีมยกเว้นผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งขันสีเดียวกันและทั้ง 2 ทีมจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจนจะใส่ชุดที่มีโทนสีคล้ายกันไม่ได้ (เช่นทีมหนึ่งใสชุดแข่งสีขาวอีกทีมหนึ่งใส่ชุดแข่งสีเหลือง)ผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีไม่ซ้ำกับผู้เล่นทั้ง ทีมและนักกีฬาที่ทำการแข่งขันจะต้องใส่รองเท้า(ในปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักกีฬาใช้เท้าเปล่าเล่น)ที่กล่าวมาเป็นอุปกรณ์การเล่นที่ต้องมีในการแข่งขันยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่กติกาไม่บังคับแต่ผู้เล่นมักจะนิยมใช้กัน คือ สนับแข้ง, ถุงมือและหมวกสำหรับผู้รักษาประตูและยังมีอุปกรณ์ปลีกย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพที่สามารถอนุโลมให้ใส่ในเวลาลงเล่นได้ เช่น แว่นตา (สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทางตา), หน้ากาก, เฮดเกียร์ เป็นต้น
  • กฎข้อที่ 5: กรรมการ
  • กฎข้อที่ 6: ผู้ช่วยกรรมการ
  • กฎข้อที่ 7: ระยะเวลาการแข่งขัน
  • กฎข้อที่ 8: การเริ่มต้นการแข่งขัน
  • กฎข้อที่ 9: บอลออกนอกสนาม
  • กฎข้อที่ 10: วิธีนับคะแนน
  • กฎข้อที่ 11: การล้ำหน้า
การล้ำหน้า (อังกฤษ: Offside) ในกติกาของฟุตบอล หมายถึง ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าเมื่อลูกบอลสัมผัส หรือเล่นโดยผู้เล่นคนหนึ่งในทีมของเขาโดยผู้ตัดสินเห็นว่าเขามีส่วนร่วมกับการเล่นอย่างชัดเจน หรือ เกี่ยวข้องกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม หรือ อาศัยความได้เปรียบจากการอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าขณะนั้นแต่ไม่ถือเป็นการล้ำหน้าในกรณีที่เตะจากประตู หรือเตะจากมุม หรือการทุ่ม
สำหรับการกระทำผิดจากการล้ำหน้า จะลงโทษ โดยให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษ โดยอ้อมจากตำแหน่งกระทำผิด
  • กฎข้อที่ 12: ฟาวล์
  • กฎข้อที่ 13: ฟรีคิก
  • กฎข้อที่ 14: ลูกโทษ
การยิงลูกโทษเป็นการตั้งเตะทำคะแนนในการแข่งขันฟุตบอลโดยลูกฟุตบอลจะอยู่ในตำแหน่งหน้าประตูห่างมาเป็นระยะ 12 หลา (ประมาณ 11 เมตร) โดยมีผู้รักษาประตูคนเดียวเท่านั้นที่อยู่ในตำแหน่งที่ป้องกันได้
ในการแข่งขันฟุตบอลจะมีการยิงลูกโทษสองลักษณะคือลักษณะแรกการยิงลูกโทษระหว่างการแข่งขัน เกิดจากที่ผู้เล่นในฝ่ายรับทำฟาล์วผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามภายในเขตประตูโดยผู้ที่ยิงลูกโทษจะมีสิทธิยิงได้หนึ่งครั้งโดยเมื่อยิงเสร็จแล้วจะปล่อยให้เกมเล่นต่อตามปกติในลักษณะที่สองคือการยิงลูกโทษภายหลังจากหมดเวลาการแข่งขันและทั้งสองฝ่ายมีคะแนนเท่ากันจะทำการยิงลูกโทษในการตัดสินผู้ชนะโดยการยิงลูกโทษลักษณะนี้จะเริ่มต้นโดยผู้ยิงฝ่ายละ 5 คน สลับกันยิงลูกโทษ โดยถ้าไม่สามารถตัดสินกันได้ให้มีการยิงต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผู้ชนะ
การยิงลูกโทษเกิดขึ้นครั้งแรกจากความคิดของผู้รักษาประตูชาวไอร์แลนด์วิลเลียมแม็คครูม(William McCrum) ในปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) โดยได้เสนอไอเดียกับ สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ และได้มีการเสนอความคิดนี้ต่อให้กับ สมาคมฟุตบอลนานาชาติ ซึ่งมีการรับรองเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2434 และมีการใช้กันในช่วงฤดูกาล 1891-92

ขอบคุณข้อมูลจาก 
https://rathanonthongmee.wordpress.com/2015/06/24/
https://sites.google.com/site/thaksakarreiynruphlsuksa/thaksa-